วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สิ้งที่พบเห็นได้ ในอุทยาน



พื้นที่พันธุ์พืช
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วจะมีความหลากหลายของพันธุ์พืชสามารถได้ ดังนี้
*เรือนยอดชั้นบน  คือชั้นบนสุดของป่าไม้บริเวณมีจะมีขนาดสูงใหญ่และขึ้นกระจายปกคลุมพื้นที่อยู่ประมาณ60เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้ชั้นนี้ได้แก่ ต้นพุงทะลาย   ต้นเคี่ยมคะนอง ต้นพนอง ต้นยางแดง
*เรือนยอดชั้นกลาง คือชั้นรองลงมาจากชั้นบนสุด ไม้ชั้นนี้มีความหนาแน่นมากกว่ากว่าไม้ชั้นบนมากเพราะชั้นนี้ไม้จะขึ้นได้ง่ายกว่าชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่  ต้นกฤษณา,ต้นเหมือดคนตัวแม่,ต้นหย่อง,ต้นกระท้อน นอกจากนี้ยังพบพืชอิงอาศัยหลายชนิดเกาะอยู่ตามกิ่งและลำต้นของต้นไม้เช่น ชายผ้าสีดา,กระแตไต่ไม้,ข้าหลวงหลังลาย ,ย่านลิ้นควาย และเหลืองจันทบูร
*เรือนยอดชั้นล่าง คือชั้นล่างสุดของภูเขาและเป็นชั้นที่มีความหนาแน่นน้อยพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกไม้ที่หล่นมาจากพันธุ์ไม้ชั้นกลาง
พื้นที่ทางชีวภาพของสัตว์ป่า
        พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วเป็นป่าที่สมบูรณ์มากจึงทำให้มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบูรณ์  ชะนีมงกุฎ ,ลิงค่าง, ลิ่นชวา จำพวกนกเช่น  นกโพระดก,นกหัวขวาน,นกจับคอน  นกกระเต็น นกเงือก และนกตะขาบทุ่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอุตุนิยมวิทยาโดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุม ซึ่งมีระบบการพัดเวียนประจำเป็นฤดูกาล โดยพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดมาจากประเทศจีน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เดือนกุมพาพันธ์ ทำให้เกิดฤดูหนาวซึ่งไม่ถึงกับหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.6 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.2 องศาเซลเซียส ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่ง คือ ลมมรสุมตะวันออกตกเฉียงใต้ พัดมาจากมหาสมุทรจะพัดพาเอาความชื้นและไอน้ำจากทะเลเข้ามาทำให้เกิดฤดูฝน อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีค่อนข้างสูงมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในช่วงเปลี่ยนฤดูลมมรสุมตั้งแต่เดือนมีนาคม เดือนเมษายน จะเป็นฤดูร้อน ซึ่งอากาศจะร้อนอบอ้าวก่อนที่จะเริ่มฤดูฝนต่อไปในเดือนพฤษภาคม


พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
1. เป็นพื้นที่ที่รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชสภาพเป็นป่าดิบชื้นมีปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปีกว่า 2,000 มิลลิเมตร (อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 30 องศาเซลเซียส) เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้หลายชนิดในป่าดิบชื้นของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ที่มีความหลากหลายสามารถแบ่งตามชั้นเรือนยอดได้ ดังนี้
*เรือนยอดชั้นบนเป็นยอดที่ปกชั้นบนสุดของป่า ไม้มีขนาดสูงใหญ่การกระจายปกคลุมพื้นที่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ไม้เด่นได้แก่ พุงทะลาย (Scaphium macropodum), เคี่ยมคะนอง (Shozea henryana), พนอง (S.hypochra), ตะเคียนหิน (Hopea ferrea), ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus) เป็นต้น
ไม้ชั้นนี้มีความหนาแน่นสูงกว่าไม้ชั้นบนมาก การปกคลุมเรือนยอดประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ชั้นบนมีเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ความสูงเฉลี่ยประมาณ 19 เมตร มีความหลากหลายชนิดมากกว่าไม้ชั้นบน ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ คอเหี้ย (Xerospermum intermedium), กฤษณา (Aquiloaria crassna), เหมือดคนตัวแม่ (Helicia excelsa), หย่อง (Archidendron quocense), นู้ดต้น (Prunus arborea var.montana), กระท้อน (Sandoricum indicum) เป็นต้น รวม 28 ชนิด นอกจากนี้ตามลำต้นของไม้ชั้นนี้พบพืชอิงอาศัยหลายชนิดเกาะอยู่บนลำต้นและกิ่งก้าน ได้แก่ ชายผ้าสีดา , กระแตไต่ไม้ , ข้าหลวงหลังลาย , ย่านลิ้นควาย , เกล็ดนาคราช นอกจากนี้ยังพบพืชในวงศ์กล้วยไม้โดยเฉพาะเหลืองจันทบูร ที่มีรูปทรงสวยงามและมีสีสันสดใส (มีถิ่นกำเนิดบริเวณจังหวัดจันทบุรี) พืชอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในสังคมป่าดิบก็คือ กลุ่มไม้เถาว์ ได้แก่ พญาปล้องทอง , เถาว์คัน , กำแพงเจ็ดชั้น และพืชจำพวกหวาย เป็นต้น

*เรือนยอดชั้นล่าง เป็นชั้นที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าไม้ชั้นรองความสูงไม่เกิน 5 เมตร ชนิดพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกไม้ของไม้ชั้นรองมีพันธุ์ไม้ประมาณ 36 ชนิด นอกจากนี้ยังมีไม้คลุมพื้นป่าอีกหลายชนิดที่ขึ้นปะปนด้วยสภาพป่าที่มีความหนาแน่นของชั้นเรือนยอด จึงช่วยในการปกคลุมดินช่วยลดการพังทลายของหน้าดินช่วยเก็บกักความชื้น และให้น้ำถูกเก็บสะสมไว้ในดินได้เป็นอย่างดี ทำให้มีศักยภาพในการระบายน้ำออกสู่ลำธารได้ตลอดทั้งปี 



2. เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วมีสภาพป่าดงดิบชื้นที่สมบูรณ์มาก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยรอบเป็นที่ราบมีถนนแอสฟัลส์ทางหลวงท้องถิ่นล้อมรอบพื้นที่ ผืนป่าแห่งนี้ไม่ติดต่อกับป่าอนุรักษ์แห่งอื่น จึงทำให้เกิดระบบนิเวศของสัตว์ที่จำกัดเขตอยู่ในพื้นที่ มีนกประจำถิ่นเป็นจำนวนมากที่สำคัญ เช่น ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบูรณ์ ตลอดจนสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์ของป่าดงดิบชื้นหลายชนิด เช่น ชะนีมงกุฎ เป็นต้น เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ เลียงผา (Naemorhecus sumatraensis)

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammals) 
พบรวม 9 อันดับ 22 วงศ์ 38 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 12 ชนิด ชนิดสัตว์ที่พบมากที่สุด เป็นพวกสัตว์ฟันแทะในอันดับ Rodentia มีจำนวน 8 ชนิด รองลงมาได้แก่ พวกค้างคาว ในอันดับ Chiroptera มีจำนวน 7 ชนิด พวกสัตว์กินเนื้อหรือผู้ล่าในอันดับ Carnivora ที่มีในรายงานการศึกษามากที่สุดจำนวน 11 ชนิด แต่สำรวจพบโดยตรงเพียง 4 ชนิด พวกสัตว์กินพืชหรือพวกสัตว์กีบมีพบเฉพาะสัตว์กีบคู่ในอันดับ Artiodactyla มี 4 ชนิด พวกลิงค่าง ในอันดับ Primate สำรวจโดยตรง 4 ชนิด นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความหลากชนิดในแต่ละวงศ์ แต่ละอันดับน้อย ได้แก่ ลิ่นชวา ในอันดับ Pholidota วงศ์ Manidae หนูผีจิ๋ว ในอันดับ Insectivora วงศ์ soicidae กระแตเหนือ ในอันดับ Scandentia วงศ์ Tupaiidae และบ่าง ในอันดับ Dermoptera วงศ์ Cynocephalida

นก (Bird)
พบรวม 15 อันดับ 43 วงศ์ 149 ชนิด นกที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 กลุ่มพวกนกที่มากที่สุด เป็นพวกนกจับคอน พบมากกว่าร้อยละ 50 ของนกที่สำรวจพบทั้งหมด นอกเหนือจากนกจับคอนดังกล่าวแล้ว นกกลุ่มพวกอื่น มีจำนวน 70 ชนิด กลุ่มพวกนกที่มีความหลากชนิดมากที่สุด คือ พวกนกโพระดกและนกหัวขวาน พบ 13 ชนิด และพวกนกกระเต็น นกจาบคา นกเงือก และนกตะขาบทุ่ง พบ 13 ชนิด กลุ่มพวกนกที่พบมากรองลงมาเป็นพวกนกเขาและนกพิราบ พบ 13 ชนิด พวกเหยี่ยว พบ 6 ชนิด พวกนกเค้า พวกไก่ฟ้า พบ 9 ชนิด นอกจากนี้ มีความหลากชนิดน้อยเพียง 1-2 ชนิด ได้แก่ พวกนกยาง พวกนกคุ่มแท้ พวกนกแก้ว และพวกนกตบยุง มีพบอันดับละ 2 ชนิด ส่วนนกเป็ด นกนางแอ่น และนกขุนแผน มีพบอันดับละชนิดเท่านั้น

สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles)
พบรวม 2 อันดับ 13 วงศ์ 59 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู (Snakaes) ในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes มีความหลากชนิดมากที่สุด จำนวน 27 ชนิด จาก 25 วงศ์ สัตว์เลื้อยคลานที่พบรองลงมาจากงู ในอันดับ Squamata อันดับย่อย Sauria พบรวม 25 ชนิดจาก 5 วงศ์ ได้แก่ พวกจิ้งจก ตุ๊กแก พวกจิ้งเหลน พวกกิ้งก่า นอกจากนี้เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่และมีเกล็ดคอขนาดใหญ่ พวก Monitors ในวงศ์ Varanidae และวงศ์ Lacertidae พวกสุดท้ายเป็นพวกเต่า ในอันดับ Chelonia พบรวม 7 ชนิดใน 3 วงศ์ ได้แก่ พวกเต่าบก เต่าน้ำและตะพาบตามลำดับ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians)
พบรวม 19 ชนิด จาก 1 อันดับ 5 วงศ์ และ 15 สกุล ได้แก่ จำพวกกบ พวกปาด พวกอึ่ง พวกคางคก และพวกอึ่งกราย ฯลฯ

ปลาน้ำจืด
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำ ลำธาร อ่างน้ำตก ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำหลายชนิด โดยเฉพาะปลาที่มีหลายชนิด เช่น ปลาสร้อยขาว , ปลากดหิน หรือปลาแขยงหิน , ปลาค้อ , ปลาจิ้งจก , ปลามุง หรือปลาพลวงหิน , ปลาเขยา , ปลากริม , ปลาก้าง , ปลากระทิง เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น