วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาพ กิจกรรมเข้าข่าย


















จุดเด่นของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

จุดเด่นของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว







น้ำตก
น้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงาม มีน้ำตลอดปี ประกอบด้วยสายธาร 2 สาย สายหนึ่งไหลลดหลั่นผ่านซอกหินผา อีกสายหนึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ทิ้งตัวลงมาจากผาสูง 20 เมตร ทั้งสองสายไหลมาบรรจบกัน ในแอ่งน้ำที่ใสมาก  สามารถมองเห็นพื้นล่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินและทรายในระดับลึกกว่า 2 เมตร ภายในบริเวณน้ำตกและลำคลองมีปลาหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาพลวงหินและปลาเหล่านี้ก็จะกินผักเป็นอาหาร


  
อลงกรณ์เจดีย์


สร้างด้วยศิลาแลงเมื่อ พ.ศ. 2419 บริเวณหน้าผาด้านหน้าของน้ำตกพลิ้ว  โดยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วพร้อมกับพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดปรานน้ำตกพลิ้วมาก และพระราชทานนามว่า " อลงกรณ์เจดีย์ "




ปิรามิดพระนางเรือล่ม
        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2424  เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักและความอาลัยของพระองค์ที่ทรงมีต่อพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์หลังจากพระนางเสด็จฑิวงคตจากอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา  ภายในปิรามิดจะบรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าเอาไว้ด้วย



ปลาพลวงหิน


        เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในลำธารที่มีน้ำใสสะอาดและมีน้ำไหลตลอดปี เป็นปลากินพืช เช่นกินถั่วฝักยาว ผักบุ้ง  แตงกวา และผักอื่น ขนาดตัวจะยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ในลำธารและอ่างน้ำของน้ำตกพลิ้วมีฝูงปลาพลวงอาศัย อยู่เป็นหมื่นกว่าตัว จึงเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของที่นี่เลย


จุดชมวิวและสถานที่กางเต็นท์




        จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติขึ้นไปตามเส้นทางลาดยางค่อนข้างชัน มีระยะทางประมาณ 250 เมตร สามารถมองเห็น ทัศนียภาพของชายหาดแหลมสิงห์ มองเห็นสภาพป่าที่สมบูรณ์ในเขตอุทยาน   มอง เห็นสวนผลไม้ สวนยาง และเขตที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน และชมพระอาทิตย์ตกทะเลยามเย็นในบริเวณนี้อุทยานฯได้จัดสถานที่ไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้กางเต็นท์พักแรม
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ

ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นอยู่ตรงข้ามกับที่ทำการอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเดินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางด้วยตนเองในเส้นทาง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 11 จุดซึ่งในแต่ละจุดจะมีป้ายสื่อความหมายธรรมชาติติดตั้งไว้ จุดสิ้นสุด อยู่บริเวณด้านหน้าอลงกรณ์ เจดีย์ ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง 

การเดินทาง

การเดินทาง


สามารถใช้เส้นทางสายกรุงเทพ-ตราด เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกตรงหลักกิโลเมตรที่ 347 ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วประมาณ 2 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 14 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองตราด 55 กิโลเมตร

สามารถใช้เส้นทางสายกรุงเทพ-ตราด เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกตรงหลักกิโลเมตรที่ 347 ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วประมาณ 2 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 14 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองตราด 55 กิโลเมตร

สิ้งที่พบเห็นได้ ในอุทยาน



พื้นที่พันธุ์พืช
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วจะมีความหลากหลายของพันธุ์พืชสามารถได้ ดังนี้
*เรือนยอดชั้นบน  คือชั้นบนสุดของป่าไม้บริเวณมีจะมีขนาดสูงใหญ่และขึ้นกระจายปกคลุมพื้นที่อยู่ประมาณ60เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้ชั้นนี้ได้แก่ ต้นพุงทะลาย   ต้นเคี่ยมคะนอง ต้นพนอง ต้นยางแดง
*เรือนยอดชั้นกลาง คือชั้นรองลงมาจากชั้นบนสุด ไม้ชั้นนี้มีความหนาแน่นมากกว่ากว่าไม้ชั้นบนมากเพราะชั้นนี้ไม้จะขึ้นได้ง่ายกว่าชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่  ต้นกฤษณา,ต้นเหมือดคนตัวแม่,ต้นหย่อง,ต้นกระท้อน นอกจากนี้ยังพบพืชอิงอาศัยหลายชนิดเกาะอยู่ตามกิ่งและลำต้นของต้นไม้เช่น ชายผ้าสีดา,กระแตไต่ไม้,ข้าหลวงหลังลาย ,ย่านลิ้นควาย และเหลืองจันทบูร
*เรือนยอดชั้นล่าง คือชั้นล่างสุดของภูเขาและเป็นชั้นที่มีความหนาแน่นน้อยพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกไม้ที่หล่นมาจากพันธุ์ไม้ชั้นกลาง
พื้นที่ทางชีวภาพของสัตว์ป่า
        พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วเป็นป่าที่สมบูรณ์มากจึงทำให้มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบูรณ์  ชะนีมงกุฎ ,ลิงค่าง, ลิ่นชวา จำพวกนกเช่น  นกโพระดก,นกหัวขวาน,นกจับคอน  นกกระเต็น นกเงือก และนกตะขาบทุ่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอุตุนิยมวิทยาโดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุม ซึ่งมีระบบการพัดเวียนประจำเป็นฤดูกาล โดยพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดมาจากประเทศจีน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เดือนกุมพาพันธ์ ทำให้เกิดฤดูหนาวซึ่งไม่ถึงกับหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.6 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.2 องศาเซลเซียส ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่ง คือ ลมมรสุมตะวันออกตกเฉียงใต้ พัดมาจากมหาสมุทรจะพัดพาเอาความชื้นและไอน้ำจากทะเลเข้ามาทำให้เกิดฤดูฝน อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีค่อนข้างสูงมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในช่วงเปลี่ยนฤดูลมมรสุมตั้งแต่เดือนมีนาคม เดือนเมษายน จะเป็นฤดูร้อน ซึ่งอากาศจะร้อนอบอ้าวก่อนที่จะเริ่มฤดูฝนต่อไปในเดือนพฤษภาคม


พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
1. เป็นพื้นที่ที่รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชสภาพเป็นป่าดิบชื้นมีปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปีกว่า 2,000 มิลลิเมตร (อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 30 องศาเซลเซียส) เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้หลายชนิดในป่าดิบชื้นของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ที่มีความหลากหลายสามารถแบ่งตามชั้นเรือนยอดได้ ดังนี้
*เรือนยอดชั้นบนเป็นยอดที่ปกชั้นบนสุดของป่า ไม้มีขนาดสูงใหญ่การกระจายปกคลุมพื้นที่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ไม้เด่นได้แก่ พุงทะลาย (Scaphium macropodum), เคี่ยมคะนอง (Shozea henryana), พนอง (S.hypochra), ตะเคียนหิน (Hopea ferrea), ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus) เป็นต้น
ไม้ชั้นนี้มีความหนาแน่นสูงกว่าไม้ชั้นบนมาก การปกคลุมเรือนยอดประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ชั้นบนมีเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ความสูงเฉลี่ยประมาณ 19 เมตร มีความหลากหลายชนิดมากกว่าไม้ชั้นบน ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ คอเหี้ย (Xerospermum intermedium), กฤษณา (Aquiloaria crassna), เหมือดคนตัวแม่ (Helicia excelsa), หย่อง (Archidendron quocense), นู้ดต้น (Prunus arborea var.montana), กระท้อน (Sandoricum indicum) เป็นต้น รวม 28 ชนิด นอกจากนี้ตามลำต้นของไม้ชั้นนี้พบพืชอิงอาศัยหลายชนิดเกาะอยู่บนลำต้นและกิ่งก้าน ได้แก่ ชายผ้าสีดา , กระแตไต่ไม้ , ข้าหลวงหลังลาย , ย่านลิ้นควาย , เกล็ดนาคราช นอกจากนี้ยังพบพืชในวงศ์กล้วยไม้โดยเฉพาะเหลืองจันทบูร ที่มีรูปทรงสวยงามและมีสีสันสดใส (มีถิ่นกำเนิดบริเวณจังหวัดจันทบุรี) พืชอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในสังคมป่าดิบก็คือ กลุ่มไม้เถาว์ ได้แก่ พญาปล้องทอง , เถาว์คัน , กำแพงเจ็ดชั้น และพืชจำพวกหวาย เป็นต้น

*เรือนยอดชั้นล่าง เป็นชั้นที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าไม้ชั้นรองความสูงไม่เกิน 5 เมตร ชนิดพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกไม้ของไม้ชั้นรองมีพันธุ์ไม้ประมาณ 36 ชนิด นอกจากนี้ยังมีไม้คลุมพื้นป่าอีกหลายชนิดที่ขึ้นปะปนด้วยสภาพป่าที่มีความหนาแน่นของชั้นเรือนยอด จึงช่วยในการปกคลุมดินช่วยลดการพังทลายของหน้าดินช่วยเก็บกักความชื้น และให้น้ำถูกเก็บสะสมไว้ในดินได้เป็นอย่างดี ทำให้มีศักยภาพในการระบายน้ำออกสู่ลำธารได้ตลอดทั้งปี 



2. เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วมีสภาพป่าดงดิบชื้นที่สมบูรณ์มาก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยรอบเป็นที่ราบมีถนนแอสฟัลส์ทางหลวงท้องถิ่นล้อมรอบพื้นที่ ผืนป่าแห่งนี้ไม่ติดต่อกับป่าอนุรักษ์แห่งอื่น จึงทำให้เกิดระบบนิเวศของสัตว์ที่จำกัดเขตอยู่ในพื้นที่ มีนกประจำถิ่นเป็นจำนวนมากที่สำคัญ เช่น ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบูรณ์ ตลอดจนสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์ของป่าดงดิบชื้นหลายชนิด เช่น ชะนีมงกุฎ เป็นต้น เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ เลียงผา (Naemorhecus sumatraensis)

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammals) 
พบรวม 9 อันดับ 22 วงศ์ 38 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 12 ชนิด ชนิดสัตว์ที่พบมากที่สุด เป็นพวกสัตว์ฟันแทะในอันดับ Rodentia มีจำนวน 8 ชนิด รองลงมาได้แก่ พวกค้างคาว ในอันดับ Chiroptera มีจำนวน 7 ชนิด พวกสัตว์กินเนื้อหรือผู้ล่าในอันดับ Carnivora ที่มีในรายงานการศึกษามากที่สุดจำนวน 11 ชนิด แต่สำรวจพบโดยตรงเพียง 4 ชนิด พวกสัตว์กินพืชหรือพวกสัตว์กีบมีพบเฉพาะสัตว์กีบคู่ในอันดับ Artiodactyla มี 4 ชนิด พวกลิงค่าง ในอันดับ Primate สำรวจโดยตรง 4 ชนิด นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความหลากชนิดในแต่ละวงศ์ แต่ละอันดับน้อย ได้แก่ ลิ่นชวา ในอันดับ Pholidota วงศ์ Manidae หนูผีจิ๋ว ในอันดับ Insectivora วงศ์ soicidae กระแตเหนือ ในอันดับ Scandentia วงศ์ Tupaiidae และบ่าง ในอันดับ Dermoptera วงศ์ Cynocephalida

นก (Bird)
พบรวม 15 อันดับ 43 วงศ์ 149 ชนิด นกที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 กลุ่มพวกนกที่มากที่สุด เป็นพวกนกจับคอน พบมากกว่าร้อยละ 50 ของนกที่สำรวจพบทั้งหมด นอกเหนือจากนกจับคอนดังกล่าวแล้ว นกกลุ่มพวกอื่น มีจำนวน 70 ชนิด กลุ่มพวกนกที่มีความหลากชนิดมากที่สุด คือ พวกนกโพระดกและนกหัวขวาน พบ 13 ชนิด และพวกนกกระเต็น นกจาบคา นกเงือก และนกตะขาบทุ่ง พบ 13 ชนิด กลุ่มพวกนกที่พบมากรองลงมาเป็นพวกนกเขาและนกพิราบ พบ 13 ชนิด พวกเหยี่ยว พบ 6 ชนิด พวกนกเค้า พวกไก่ฟ้า พบ 9 ชนิด นอกจากนี้ มีความหลากชนิดน้อยเพียง 1-2 ชนิด ได้แก่ พวกนกยาง พวกนกคุ่มแท้ พวกนกแก้ว และพวกนกตบยุง มีพบอันดับละ 2 ชนิด ส่วนนกเป็ด นกนางแอ่น และนกขุนแผน มีพบอันดับละชนิดเท่านั้น

สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles)
พบรวม 2 อันดับ 13 วงศ์ 59 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู (Snakaes) ในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes มีความหลากชนิดมากที่สุด จำนวน 27 ชนิด จาก 25 วงศ์ สัตว์เลื้อยคลานที่พบรองลงมาจากงู ในอันดับ Squamata อันดับย่อย Sauria พบรวม 25 ชนิดจาก 5 วงศ์ ได้แก่ พวกจิ้งจก ตุ๊กแก พวกจิ้งเหลน พวกกิ้งก่า นอกจากนี้เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่และมีเกล็ดคอขนาดใหญ่ พวก Monitors ในวงศ์ Varanidae และวงศ์ Lacertidae พวกสุดท้ายเป็นพวกเต่า ในอันดับ Chelonia พบรวม 7 ชนิดใน 3 วงศ์ ได้แก่ พวกเต่าบก เต่าน้ำและตะพาบตามลำดับ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians)
พบรวม 19 ชนิด จาก 1 อันดับ 5 วงศ์ และ 15 สกุล ได้แก่ จำพวกกบ พวกปาด พวกอึ่ง พวกคางคก และพวกอึ่งกราย ฯลฯ

ปลาน้ำจืด
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำ ลำธาร อ่างน้ำตก ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำหลายชนิด โดยเฉพาะปลาที่มีหลายชนิด เช่น ปลาสร้อยขาว , ปลากดหิน หรือปลาแขยงหิน , ปลาค้อ , ปลาจิ้งจก , ปลามุง หรือปลาพลวงหิน , ปลาเขยา , ปลากริม , ปลาก้าง , ปลากระทิง เป็นต้น 

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ


มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางอยู่ในช่วง 20-924 เมตร ค่อย ๆ ลาดลงไปทางทิศใต้ มีที่ราบแคบ ๆ ทั่วไปบริเวณไหล่เขา พื้นที่มีความลาดชันสูง จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ยอดเขามาบหว้ากรอก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 924 เมตร ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนที่เป็นหิน ส่วนใหญ่เป็นหินอัคนีประเภทหินแกรนิต ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน ที่ประกอบไปด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มีลำห้วยเล็ก ๆ หลายสาขา ที่มีน้ำไหลตลอดปี เช่น คลองนารายณ์ คลองพลิ้ว คลองตรอกนอง คลองมะกอก คลองซึ้ง คลองขลุง กระจายอยู่รอบพื้นที่ตอนกลางของพื้นที่เป็นสันเขาสูงชัน 
ลักษณะภูมิอากาศ

        น้ำตกพลิ้วตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยจะอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุมเป็นลมที่พัดมาจากประเทศจีน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เดือนกุมภาพันธ์ จึงทำให้เกิดฤดูหนาว ส่วนลมมรสุมที่มาจากตะวันออกเฉียงใต้คือทางมหาสมุทรจะพัดเอาความชื้นและไอน้ำเข้ามาทำให้เกิดฤดูฝน     และในเดือนมีนาคม-เมษายน จะเป็นฤดูร้อน ซึ่งอากาศที่นี่จะร้อนอบอ้าว 

หน่วยงานในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำตก

หน่วยงานในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำตก  มีดังนี้


1.  หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่1  (น้ำตกตรอกนอง)
หัวหน้าหน่วย : นายใบ   สุภาพพูล
อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ ต.เกวียนหัก ต.ซึ้ง ต.ตรอกนอง และ ต.สรรพรส อ.ขลุง   การเดินทางใช้เส้นทางแยกจากน้ำตกพลิ้วไปทางจังหวัดตราด พอถึงสี่แยกเข้าอำเภอขลุงให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสาย ขลุง-มะขามอีก 10 กิโลเมตร พอถึงตลาดตรอกนอง จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป อีกประมาณ 2 กิโลเมตร  ก็จะถึงน้ำตกตรอกนอง  น้ำตกนี้มีความสวยงามตามธรรมชาติมาก มีน้ำไหลตลอดปี ในระหว่างการเดินทางขึ้นน้ำตกจะพบกับความสวยงามของลำธารและสภาพป่าที่มีความร่มรื่น และในบริเวณนี้ก็จะมีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก โดยจะสังเกตเห็นรอยเท้าของสัตว์ป่าที่ลงมากินน้ำตาม    ลำธาร เช่น หมี หมูป่า ชะมดและในบริเวณนี้ก็ยังมีถ้ำพระเจดีย์อยู่บนไหล่เขา   พระเจดีย์จะมีลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่คล้ายเจดีย์ ตั้งอยู่บนไหล่เขาชาวบ้านเรียกว่า " เขาพระเจดีย์ "


2.   หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่2  (บ้านอ่าง)
หัวหน้าหน่วย : นายรัชศักดิ์   จันทกิจ
 อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ ต.พลับพลา อ.เมือง และ ต.มะขาม  อ.มะขาม เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเก็บกักน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาสระบาป ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์จะมีนกเป็ดน้ำมาอาศัยอยู่จำนวนมาก มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง  2.4 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นบริเวณสันอ่างเก็บน้ำ


3. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 3  (น้ำตกคลองนารายณ์)
หัวหน้าหน่วย : นายสมยศ   เพ็ชรมุณี
ตั้งอยู่ที่ ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง อยู่ห่างจากถนนใหญ่สายจันทบุรี ตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมือง จ.จันทบุรี 6 กิโลเมตร  น้ำตกคลองนารายณ์เป็นน้ำตกขนาดกลางลดหลั่นมาจากหน้าผาสูงชันสูงประมาณ 25 เมตร มีน้ำใสไหลตลอดทั้งปี เหมาะสำหรัถบผู้ที่ชอบการเดินป่าศึกษาธรรมชาติและน้ำตก และที่ตรงนี้ยังมีอ่างศาล  อ่างศาลจะอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติประมาณ 300 เมตร ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจุลสีห์จุมพต และมีการสร้างประดิษฐานของจุลสีห์จุมพตเจดีย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นไว้กลางลำธารในรัชสมัยของพระองค์
อ่างสรงหรืออ่างหงษ์ อยู่ห่างจากอ่างศาลประมาณ 200 เมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกเล็กๆไหลมาจากหน้าผาเป็นทางคล้ายหางหงษ์ ในอดีต ร.4 และ ร.5 ได้ทรงลงสรงน้ำบริเวณนี้ ในน้ำตกคลองนารายณ์ยังมีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 18 แห่งทั่วประเทศที่ใช้ในพิธีกรรมมูรธาพิเษกในพระราชพีธีพระบรมราชาพิเษกในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะมีระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร และจะเดินผ่านจุดศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ถ้ำนารายณ์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ มาสิ้นสุดที่อ่างศิลา


4. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 4    น้ำตกมะกอก (Namtok Magog)
หัวหน้าหน่วย : นายภูเมธ   ทำเนียบ
อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ท้องที่  ต.วังสรรพรส ต.มาบไพ อ.ขลุง อยู่เลยทางเข้าน้ำตกตรอกนองไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร  ตามถนนสาย ขลุง-มะขาม เดินเลียบลำธารไปอีกประมาณ 600 เมตร  น้ำตกมะกอกเป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 2 ชั้น สายน้ำไหลจากผาสูงชัน น้ำใสเป็นสีเขียวอมฟ้า มีน้ำตลอดปี มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 2.1 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นบริเวณด้านหลังหน่วยพิทักษ์อุทยาน


5. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 5  (กงษีไร่)   
หัวหน้าหน่วย : นายสุชาติ   ขันจอก 
อยู่ในการควบคุมดูแลบริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติ ท้องที่ ต.เกวียนหัก ต.ซึ้ง อ.ขลุง จ.จันทบุรีอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วเป็นอ่างเก็บน้ำ


6. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วชั่วคราว ที่ 6 (น้ำตกคลองลาง)
อยู่ในการวบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี


7. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตก   พลิ้วชั่วคราว ที่ 7 (เขาอ่าง)

อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ ต.มะขาม อ.มะขาม และ ต.มาบไพ อ.ขลุง    

ประวัติ น้ำตกพลิ้ว (Namtok Phlio)


น้ำตกพลิ้ว (Namtok Phlio)



หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายชิษณุพงศ์ พรหมสัมฤทธิ์

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ตั้งอยู่หมู่ 12 ต. พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อ.เมือง อ.แหลมสิงห์ อ.ขลุง และ  อ.มะขาม  จ.จันทบุรี เป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ที่หลากหลายชนิด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดจันทบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร อุทยานแห่งขาติน้ำตกพลิ้วมีเนื้อที่ประมาณ   134.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 84,062.50 ไร่
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ    è ติดต่อกับตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
ทิศใต้        è ติดต่อกับตำบลตะปอน ตำบลซึ้ง ตำบลเกวียนหัก  อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี              
ทิศตะวันออก èติดต่อกับทางหลวงชนบท อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตก   èติดต่อกับหมู่บ้านคมบางอำเภอเมือง ตำบลพลิ้ว              
                      อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี




ประวัติความเป็นมา
          ตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี2517ได้กำหนดให้ป่าเขาสระบาปเป็นพื้นที่ป่าอุทยานได้มีการกำหนดพื้นที่อุทยานคือ ต.พลับพลา ต.คลองนารายณ์ ต.คมบาง อ.เมือง ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ ต.มะขา อ.มะขาม ต.มาบไพ ต.วังสรรพรส  ต.ตรอกนอง ต.ซึ้ง ต.ตะปอน ต.เกวียนหัก อ.ขลุง และปีพ..2518 ได้กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเป็นลำดับที่ 11 ของประเทศไทย โดยมีชื่อว่า อุทยานแห่งชาติเขาสระบาปต่อมาปี2525 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสระบาปนายผจญ  ธนมิตรามณี ได้ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่ออุทยานเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เพราะเห็นว่าน้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกที่สวยงามและเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของอุทยานเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและประชาชนโดยทั่วไปเป็นเวลามานานแล้วคณะกรรมการอุทยานจึงเห็นชอบให้มีการเปลี่ยนชื่อและได้ใช้ชื่อว่าอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วนี้ตั้งแต่ปีพ..2525เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
หน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
    . หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 1 น้ำตกตรอกนอง
    . หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 2 บ้านอ่าง
    . หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 3 น้ำคลองนารายณ์
    . หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 4 น้ำตกมะกอก
    . หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 5 กงสีไร่
    . หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วชั่วคราวที่ 6 น้ำตกคลองลาง
    . หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วชั่วคราวที่ 7 เขาอ่าง
หน่วยงานในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำตก  มีดังนี้
1.      หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่1  (น้ำตกตรอกนอง)
หัวหน้าหน่วย : นายใบ   สุภาพพูล
อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ ต.เกวียนหัก ต.ซึ้ง ต.ตรอกนอง และ ต.สรรพรส อ.ขลุง   การเดินทางใช้เส้นทางแยกจากน้ำตกพลิ้วไปทางจังหวัดตราด พอถึงสี่แยกเข้าอำเภอขลุงให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสาย ขลุง-มะขามอีก 10 กิโลเมตร พอถึงตลาดตรอกนอง จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป อีกประมาณ 2 กิโลเมตร  ก็จะถึงน้ำตกตรอกนอง  น้ำตกนี้มีความสวยงามตามธรรมชาติมาก มีน้ำไหลตลอดปี ในระหว่างการเดินทางขึ้นน้ำตกจะพบกับความสวยงามของลำธารและสภาพป่าที่มีความร่มรื่น และในบริเวณนี้ก็จะมีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก โดยจะสังเกตเห็นรอยเท้าของสัตว์ป่าที่ลงมากินน้ำตาม    ลำธาร เช่น หมี หมูป่า ชะมดและในบริเวณนี้ก็ยังมีถ้ำพระเจดีย์อยู่บนไหล่เขา   พระเจดีย์จะมีลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่คล้ายเจดีย์ ตั้งอยู่บนไหล่เขาชาวบ้านเรียกว่า " เขาพระเจดีย์ "
2.       หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่2  (บ้านอ่าง)
หัวหน้าหน่วย : นายรัชศักดิ์   จันทกิจ
 อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ ต.พลับพลา อ.เมือง และ ต.มะขาม  อ.มะขาม เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเก็บกักน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาสระบาป ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์จะมีนกเป็ดน้ำมาอาศัยอยู่จำนวนมาก มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง  2.4 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นบริเวณสันอ่างเก็บน้ำ
3. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 3  (น้ำตกคลองนารายณ์)
หัวหน้าหน่วย : นายสมยศ   เพ็ชรมุณี
ตั้งอยู่ที่ ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง อยู่ห่างจากถนนใหญ่สายจันทบุรี ตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมือง จ.จันทบุรี 6 กิโลเมตร  น้ำตกคลองนารายณ์เป็นน้ำตกขนาดกลางลดหลั่นมาจากหน้าผาสูงชันสูงประมาณ 25 เมตร มีน้ำใสไหลตลอดทั้งปี เหมาะสำหรัถบผู้ที่ชอบการเดินป่าศึกษาธรรมชาติและน้ำตก และที่ตรงนี้ยังมีอ่างศาล  อ่างศาลจะอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติประมาณ 300 เมตร ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจุลสีห์จุมพต และมีการสร้างประดิษฐานของจุลสีห์จุมพตเจดีย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นไว้กลางลำธารในรัชสมัยของพระองค์
อ่างสรงหรืออ่างหงษ์ อยู่ห่างจากอ่างศาลประมาณ 200 เมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกเล็กๆไหลมาจากหน้าผาเป็นทางคล้ายหางหงษ์ ในอดีต ร.4 และ ร.5 ได้ทรงลงสรงน้ำบริเวณนี้ ในน้ำตกคลองนารายณ์ยังมีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 18 แห่งทั่วประเทศที่ใช้ในพิธีกรรมมูรธาพิเษกในพระราชพีธีพระบรมราชาพิเษกในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะมีระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร และจะเดินผ่านจุดศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ถ้ำนารายณ์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ มาสิ้นสุดที่อ่างศิลา
4. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 4    น้ำตกมะกอก (Namtok Magog)
หัวหน้าหน่วย : นายภูเมธ   ทำเนียบ
อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ท้องที่  ต.วังสรรพรส ต.มาบไพ อ.ขลุง อยู่เลยทางเข้าน้ำตกตรอกนองไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร  ตามถนนสาย ขลุง-มะขาม เดินเลียบลำธารไปอีกประมาณ 600 เมตร  น้ำตกมะกอกเป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 2 ชั้น สายน้ำไหลจากผาสูงชัน น้ำใสเป็นสีเขียวอมฟ้า มีน้ำตลอดปี มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 2.1 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นบริเวณด้านหลังหน่วยพิทักษ์อุทยาน
5. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 5  (กงษีไร่)   
หัวหน้าหน่วย : นายสุชาติ   ขันจอก 
อยู่ในการควบคุมดูแลบริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติ ท้องที่ ต.เกวียนหัก ต.ซึ้ง อ.ขลุง จ.จันทบุรีอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วเป็นอ่างเก็บน้ำ
6. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วชั่วคราว ที่ 6 (น้ำตกคลองลาง)
อยู่ในการวบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
7. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตก   พลิ้วชั่วคราว ที่ 7 (เขาอ่าง)
อยู่ในการควบคุมดูแลในเขตอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ท้องที่ ต.มะขาม อ.มะขาม และ ต.มาบไพ อ.ขลุง    
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนพื้นที่มีความลาดชันสูง จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ยอดเขามาบหว้ากรอก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 924 เมตร ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนที่เป็นหิน ส่วนใหญ่เป็นหินอัคนีประเภทหินแกรนิต ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน และพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มีลำห้วยเล็ก ๆ หลายสาขา ที่มีน้ำไหลตลอดปี เช่น คลองนารายณ์ คลองพลิ้ว คลองตรอกนอง คลองมะกอก คลองซึ้ง คลองขลุง กระจายอยู่รอบพื้นที่
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอุตุนิยมวิทยาโดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยจะอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุม โดยพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดมาจากประเทศจีน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เดือนกุมพาพันธ์ ทำให้เกิดฤดูหนาวซึ่งไม่ถึงกับหนาวจัด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.6 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.2 องศาเซลเซียส ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่ง คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ พัดมาจากมหาสมุทรเอาความชื้นและไอน้ำจากทะเลเข้ามาทำให้เกิดฤดูฝน และในช่วงเปลี่ยนฤดูลมมรสุมตั้งแต่เดือนมีนาคม เดือนเมษายน จะเป็นฤดูร้อน ซึ่งอากาศจะร้อนอบอ้าวก่อนที่จะเริ่มฤดูฝนต่อไปในเดือนพฤษภาคม



พื้นที่ทางชีวภาพของสัตว์ป่า
          พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วมีสภาพป่าดงดิบที่สมบูรณ์มากจึงทำให้มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่เช่นไก่ฟ้าหลังเงินจันทบูรณ์ ชะนีมงกุฎ,ลิงค่าง,ลิ่นชวาจำพวกนกเช่นนกโพระดก,นกหัวขวาน,นกจับคอน นกกระเต็น นกเงือก และนกตะขาบทุ่ง
พื้นที่พันธุ์พืช
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วจะมีความหลากหลายของพันธุ์พืชสามารถได้ ดังนี้
*เรือนยอดชั้นบน  คือชั้นบนสุดของป่าไม้บริเวณมีจะมีขนาดสูงใหญ่และขึ้นกระจายปกคลุมพื้นที่อยู่ประมาณ60เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้ชั้นนี้ได้แก่ ต้นพุงทะลาย   ต้นเคี่ยมคะนอง ต้นพนอง ต้นยางแดง
*เรือนยอดชั้นกลาง คือชั้นรองลงมาจากชั้นบนสุด ไม้ชั้นนี้มีความหนาแน่นมากกว่ากว่าไม้ชั้นบนมากเพราะชั้นนี้ไม้จะขึ้นได้ง่ายกว่าชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่  ต้นกฤษณา,ต้นเหมือดคนตัวแม่,ต้นหย่อง,ต้นกระท้อน นอกจากนี้ยังพบพืชอิงอาศัยหลายชนิดเกาะอยู่ตามกิ่งและลำต้นของต้นไม้เช่น ชายผ้าสีดา,กระแตไต่ไม้,ข้าหลวงหลังลาย ,ย่านลิ้นควาย และเหลืองจันทบูร
*เรือนยอดชั้นล่าง คือชั้นล่างสุดของภูเขาและเป็นชั้นที่มีความหนาแน่นน้อยพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกไม้ที่หล่นมาจากพันธุ์ไม้ชั้นกลาง

จุดเด่นที่น่าสนใจ
1.น้ำตกพลิ้ว
2.อลงกรณ์เจดีย์
3.ปิรามิดพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
4.ปลาพวง
5.จุดชมวิว
6.เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
จุดเด่นของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
น้ำตก
น้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงาม มีน้ำตลอดปี ประกอบด้วยสายธาร 2 สาย สายหนึ่งไหลลดหลั่นผ่านซอกหินผา อีกสายหนึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ทิ้งตัวลงมาจากผาสูง 20 เมตร ทั้งสองสายไหลมาบรรจบกัน ในแอ่งน้ำที่ใสมาก  สามารถมองเห็นพื้นล่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินและทรายในระดับลึกกว่า 2 เมตร ภายในบริเวณน้ำตกและลำคลองมีปลาหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาพลวงหินและปลาเหล่านี้ก็จะกินผักเป็นอาหาร   
อลงกรณ์เจดีย์
สร้างด้วยศิลาแลงเมื่อ พ.ศ. 2419 บริเวณหน้าผาด้านหน้าของน้ำตกพลิ้ว  โดยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วพร้อมกับพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดปรานน้ำตกพลิ้วมาก และพระราชทานนามว่า " อลงกรณ์เจดีย์ "
ปิรามิดพระนางเรือล่ม
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2424  เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักและความอาลัยของพระองค์ที่ทรงมีต่อพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์หลังจากพระนางเสด็จฑิวงคตจากอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา  ภายในปิรามิดจะบรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าเอาไว้ด้วย





ปลาพลวงหิน
          เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในลำธารที่มีน้ำใสสะอาดและมีน้ำไหลตลอดปี เป็นปลากินพืช เช่นกินถั่วฝักยาว ผักบุ้ง  แตงกวา และผักอื่น ขนาดตัวจะยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ในลำธารและอ่างน้ำของน้ำตกพลิ้วมีฝูงปลาพลวงอาศัย อยู่เป็นหมื่นกว่าตัว จึงเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของที่นี่เลย
จุดชมวิวและสถานที่กางเต็นท์
จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติขึ้นไปตามเส้นทางลาดยางค่อนข้างชัน มีระยะทางประมาณ 250 เมตร สามารถมองเห็นทัศนียภาพของชายหาดแหลมสิงห์ มองเห็นสภาพป่าที่สมบูรณ์ในเขตอุทยาน   มอง เห็นสวนผลไม้ สวนยาง และเขตที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน และชมพระอาทิตย์ตกทะเลยามเย็นในบริเวณนี้อุทยานฯได้จัดสถานที่ไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวกางเต็นท์พักแรม
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นอยู่ตรงข้ามกับที่ทำการอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเดินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางด้วยตนเองในเส้นทาง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 11 จุดซึ่งในแต่ละจุดจะมีป้ายสื่อความหมายธรรมชาติติดตั้งไว้ จุดสิ้นสุด อยู่บริเวณด้านหน้าอลงกรณ์ เจดีย์ ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง





บ้านพักนักท่องเที่ยว
บ้านชลธาร มี 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ราคา 1800/คืน
บ้านแฝดพลิ้ว มี 3ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ราคา 1800  /คืน  มีห้องรับแขก
ค่ายพักแรม มี 2 ห้องใหญ่ ห้องละ 15 คน ราคา 1500 /คืน/ห้อง
อาคารเรือนนอนชาย-หญิง ที่ตรอกนอง ห้องละ 30 คน ราคา 3000 /คืน




+++ ราคาเต็นท์ +++
เต็นท์ขนาด 3 คน ราคา 225 บาท / คืน
เต็นท์ขนาด 8 คน ราคา 600 บาท / คืน  ทั้ง 2 ขนาด ไม่รวมราคาเครื่องนอน

=== ราคาเครื่องนอน ===
หมอน 10 บาท / ใบ
ยางรองนอน 20 บาท / ผืน
ถุงนอน 30 บาท / ใบ
ราคาบัตร 
คนไทย         ผู้ใหญ่   40   บาท    เด็ก  20    บาท     
ต่างชาติ        ผู้ใหญ่  200  บาท เด็ก     100   บาท


ส่วนผู้สูงอายุ,พระภิกษุ และคนพิการ ไม่เสียค่าบริการ
credit https://googledrive.com/host/0B7NKAY5rSqLJUGNEMUhjVlVwa0k/

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พันธุ์สัตว์

พันธุ์สัตว์

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  37  ชนิด   เช่น เลียงผา  ค้างคาว  ลิง  ชะนีมงกุฎ เป็นต้น

สัตว์เลื้อยคลาน  59  ชนิด  
เช่น  งูกะปะ  งูเขียงหางไม้   กิ้งก่ายักษ์  เต่าบก และตะพาบ เป็นต้น

สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทินบก  13  ชนิด  
เช่น  ปาด  อึ่งกราย เป็นต้น

นก 149  ชนิด  
เช่น  นกแต้วแล้วธรรมดา  นกพญาปากกว้างลายเหลือง  นกเขียว ก้านตองหน้าผากสีทอง  เป็นต้น

ปลาน้ำจืด  เช่น  ปลาสร้อยขาว  ปลาแขยงหิน  ปลาพลวงหิน เป็นต้น


ข้อมูลทั่วไป


********************************
ทรัพยากรธรรมชาติ
        หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่เองตามธรรมชาติ  มีประโยชน์สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้ หรือมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
1.ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมด เช่น บรรยากาศ  น้ำที่อยู่ในวัฏจักร
2.ทรัพยากรธรรมชาติที่มีการเกิดขึ้นมาทดแทนหรือรักษาไว้ได้  เช่น  ป่าไม้  สัตว์ป่า
3.ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป   เช่น  แร่  ที่ดินในสภาพธรรมชาติ 
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
          หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยวิธีการที่ฉลาดใช้อย่างประหยัดและเกิดประโยชน์มากที่สุดและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด
หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ทางตรง
-              ใช้อย่างประหยัด
-              ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่
-              บำรุงซ่อมแซมอย่างสม่ำเสมอ
-              ดูแลฟื้นฟู
-              เฝ้าระวังและป้องกัน
ทางอ้อม
-              พัฒนาคุณภาพประชากร                                - ใช้มาตราการทางสังคมและกฏหมาย
-              ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์         - ส่งเสริมการศึกษาวิจัยแดละพัฒนาเทคโนโลยี
-              กำหนดนโยบายและแนวทางของรัฐบาล             
ทรัพยากรธรรมชาติที่เราควรช่วยกันดูแล
          -ป่าไม้ 
          -สัตว์ป่า
          - น้ำ     -อากาศ
ทรัพยากรป่าไม้
ปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆตามมาอีกเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นทำให้อากาศร้อน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือไม่ก็ทำให้เกิดภัยแล้ง
ประโยชน์ทางตรง
1.สร้างเป็นที่อยู่อาศัยของคนและสัตว์
2.เป็นแหล่งในการหาอาหารของคนและสัตว์
3.ใช้เส้นใยเป็นเครื่องนุ่งห่ม 
4.ใช้ทำยารักษาโรค
   ประโยชน์ทางอ้อม
          1.เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร
          2.ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ
          3.เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้
          4.ช่วยบรรเทาและป้องกันความรุนแรงของลมพายุ
          5.ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดินจากฝนและลมพายุ
วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
          1.มีการคุ้มครองป่าไม้เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่า
          2. มีการปลูกป่าเพิ่มเพื่อชดเชยป่าไม้ที่ได้เสียไป
          3. มีการป้องกันไฟป่าเพื่อไม่ให้ทำลายต้นไม้และพันธุ์ไม้ที่ยังเล็กอยู่
          4. ควรมีการใช้ไม้อย่างประหยัด หรือใช้วัสดุอื่นแทนไม้
          5. มีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็น ความสำคัญของป่าไม้ ฯลฯ                         
ผลกระทบจากการทำลายป่าไม้
1.ทำให้เกิดน้ำท่วม
2.ทำให้เกิดความแห้งแล้ง
3.เกิดการชะล้างพังทะลายของดิน
4.ทำให้เกิดโลกร้อน
ทรัพยากรสัตว์ป่า
          สัตว์ป่าหมายถึงสัตว์ต่างๆทุกชนิดที่ได้ดำรงชีวิตอยู่ในป่าไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีกหรือแมลงต่างๆรวมถึงไข่ของสัตว์ด้วยหล่านั้นด้วย
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า จำแนกสัตว์ป่าไว้ดังต่อไปนี้
     สัตว์ป่าสงวน  เป็นสัตว์ป่าหายากหรือกำลังจะสูญพันธุ์  จึงห้ามล่าหรือมีไว้ครอบครอง มี 15 ชนิด
     สัตว์ป่าคุ้มครอง  หมายถึง  สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
     สัตว์ป่านอกประเภท  หมายถึง  สัตว์ป่าที่ไม่ได้อยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535  และสัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองกำหนดไว้
ประโยชน์ของสัตว์ป่า
          - ด้านเศรษฐกิจ
          - ด้านการรักษาความงามและคุณค่าทางจิตใจ
          - ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ
          - ด้านวิทยาศาสตร์  การแพทย์ การศึกษา และการ
            ค้นคว้าวิจัย
          - เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์
            ด้วยกันเอง
          - คุณค่าของสัตว์ป่าต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ


== วิธีการอนุรักษ์สัตว์ป่า ==
-              ควรปฏิบัติตามกฏหมายที่ใช้บังคับในการปราบปรามผู้กระทำความผิดตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
-              ควรสงวนแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเพื่ออาศัยและขยายพันธุ์
-              ควรมีการเพาะพันธุ์เพิ่มแล้วคืนสู่ป่าเพื่อให้ใช้ชีวิตและขยายพันธุ์อยู่ในป่า
-              ควรมีการค้นคว้าและวิจัยเพื่อเพิ่มชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสัตว์ป่าและได้กาขยายพันธุ์ที่สมบูรณ์อีกด้วย



==  ทรัพยากรน้ำ ==
  ประโยชน์ของน้ำ
- ใช้ดื่มกิน                                                -  ใช้เป็นสื่อกลางในการชำระร่างกาย
-ชำระสิ่งสกปรกโสโครกต่าง ๆ                        -  สำหรับการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์ 
- เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น น้ำใน     -ขบวนการผลิต  ใช้ล้างของเสีย 
-ใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน  ฯลฯ
ประโยชน์ของน้ำ
-              ใช้สำหรับอุปโภคและบริโภค
-              ใช้สำหรับการเพาะปลูกทางการเกษตรและใช้เลี้ยงสัตว์
-              ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
-              ใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน
ปัญหาที่เกิดกับทรัพยากรน้ำ
      - น้ำเน่าเสีย
-              การขาดแคลนน้ำ
-              การรุกล้ำของน้ำเค็ม
-              การชะล้างพังทะลายของดิน
-              เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ
วิธีการอนุรักษ์น้ำ
          - ควรใช้น้ำอย่างประหยัด
          - ใช้แล้วกลับมาใช้อีก
          - สงวนน้ำไว้ใช้ในบางฤดูกาล
          - มีมาตราการป้องกันน้ำเสีย
          - ไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง


ขยะและสิ่งปฏิกูล
   ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขยะล้นเมืองซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญเพราะขยะเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆดังนี้
          - เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ                       - เป็นแหล่งกำเนิดของพาหะนำโรค
          - ก่อให้เกิดความรำคาญส่งกลิ่นเหม็นและทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
ประเภทของขยะ                 
1.                   ขยะเปียก
2.                   ขยะแห้ง
3.                   ขยะอันตราย
วิธีการกำจัดขยะ
1.                ควรมีการคัดแยกขยะ
2.                ขยะบางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
3.                ขยะเปียกสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก
4.                ใช้แนวคิด 5 R
          Reduce คือการลดขยะด้วยวิธีการเช่นใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
          Reuse    คือการวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้อีก
          Repair   คือการนำวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดมาซ่อมแซมใหม่
          Recycle คือการนำขยะมาแปรรูปใหม่
          Reject คือการหลักเหลี่ยงการใช้วัสดุที่ทำลายยาก เช่น กล่องโฟม

วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่พวกเราทำได้

  1.ทางเดียวกันไปด้วยกัน
  2.ทางระยะใกล้ใช้จักรยานแทนรถจักยานยนต์
  3.ไม่เผาหญ้า,ไม่เผาป่า,ไม่เผาขยะเพื่อรักษาอากาศที่ดีไว้
  4.ปลูกต้นไม้ไว้บังแวงแดดแทนการเปิดแอร์หรือเปิดพัดลม
  5.ใช้กระดาษให้ครบ2หน้า
  6.เลือกใช้ถุงผ้า,ถุงกระดาษแทนการใช้ถุงพลาสติก
  7.ควรมีการคัดแยกขยะและนำขยะบางอย่าที่ใช้ได้กลับมาใช้ใหม่

           *-* จบการบรรยาย *-*